จุดประกาย ถาม-ตอบ 01

ถาม : พี่…ถ้าเรารู้สึกตัวแต่มันมีความคิดปนด้วย จำเป็นต้องไปเร่งความรู้สึกตัวให้มันแรงๆขึ้น ให้ความคิดมันหายไปไหม หรือปล่อยไว้แบบนั้นเลย?

คือผมลองlock ความรู้สึกตัวเอาไว้ พยายามให้ความคิดแทรกน้อยที่สุด แต่ลองแล้วมันรู้สึกอึดอัดแน่นๆหนักๆ เลยไม่รู้ว่าผมเข้าใจอะไรผิดไปรึเปล่า?

คือให้ออกจากความคิดนี่คือพยายามให้รู้สึกตัว อย่าให้มีความคิดแทรกเข้ามา หรือให้มีความคิดแทรกให้น้อยที่สุดใช่รึเปล่า?

ให้มันมีแต่ความรู้สึกเพียวๆเลยอย่างเดียว

มันเหมือนกับผมจ้องความรู้สึกเอาไว้ ความคิดมันก็น้อยลงไปซักพัก แต่ถ้าปล่อยเลยไม่จ้องเอาไว้มันก็รู้สึกตัวได้เหมือนกันแต่ความคิดมันจะคิดเยอะมาก

 

ตอบ : กลับไปที่หลักใหญ่นะครับ

don’t do anything

ไม่มีการทำอะไรครับ

ผมแนะนำแบบนี้ครับ เราไม่ได้ทำอะไรเพื่อจะได้อะไร

เรามีแค่หน้าที่และวินัย

 

ผมบอกว่าเรามีหน้าที่

  1. รู้สึกตัว
  2. ไม่หลงเข้าไปในโลกของความคิด
  3. แล้วก็รู้จักสภาพที่จิตใจเป็นปกติ

ทำหน้าที่แค่นี้ครับ

 

เราไม่ได้ทำเพื่อให้อะไร เช่น หวังว่าความคิด จะน้อยลง หรือมากขึ้น หรือไม่มี

อย่ามีเป้าหมายอะไรครับ

แค่ทำหน้าที่ แล้วปล่อยให้ผลมันแสดงตัว
เมื่อผลมันแสดงตัว แล้วเราก็แค่รู้ว่า “ตอนนี้ เป็นแบบนี้

แล้วทำอะไรต่อ ???

ก็แค่กลับมาทำหน้าที่ต่อครับ

พอเข้าใจมั้ยครับ

ผมแนะนำว่าต้องเดินจงกรมนะครับ ถ้าอยู่บ้าน ก็เริ่มทำ 4เวลานะครับ ทำเป็นหน้าที่ อย่างมีวินัย

[av_hr class=’short’ height=’50’ shadow=’no-shadow’ position=’center’ custom_border=’av-border-thin’ custom_width=’50px’ custom_border_color=” custom_margin_top=’30px’ custom_margin_bottom=’30px’ icon_select=’yes’ custom_icon_color=” icon=’ue808′ font=’entypo-fontello’ av_uid=’av-acm7j’]

ถาม : พี่ช่วยขยายความประโยคที่ว่า “ไม่หลงเขาไปในโลกของความคิด” หน่อยสิครับ

คือเหมือนตอนแรกผมเข้าใจประโยคนี้ว่า คือให้รู้สึกตัวมากๆ แล้วอย่าให้มันมีความคิดนึกอะไร

 

ตอบ : ที่เราต้องฝึกที่จะรู้สึกตัว ก็เพื่อที่จะไม่หลงเข้าไปในความคิดปรุงแต่ง

ทีนี้ เราต้องรู้สึกตัวมากๆมั้ย???
ตามทฤษฎี ยิ่งรู้สึกตัวบ่อยเท่าไหร่ยิ่งดีครับ

แต่ในแง่การปฏิบัติ ผมจะพูดเสมอว่า ให้รู้เท่าที่รู้ได้ อันนี้เป็นหัวใจครับ

 

ถ้าเราอยากรู้สึกบ่อยๆ เรากำลังมีตัณหา เรากำลังเต็มไปด้วยตัวตนจะไปพยายามทำครับ นั่นเลยทำให้มีอาการอึดอัด

 

แต่ผมก็ได้เคยพูดในคลิปไปเหมือนกันนะครับว่า ถ้าการมีความรู้สึกตัวบ่อยๆจะช่วยการปฏิบัติแน่ๆ แล้วเราควรจะทำยังไง ถึงจะเป็นธรรมชาติ ที่ไม่มีเราตัณหา ความพยายามจะทำความรู้สึกตัว???

คำตอบคือ เราควรจะแบ่งเวลาทำในรูปแบบ

รูปแบบจะให้เรารู้จักการได้อยู่กับตัวเอง อยู่กับความรู้สึกตัว

มันคือการให้เวลากับตัวเอง ที่จะรู้จักธรรมชาติที่แท้จริงของตัวเอง

แล้วรูปแบบนั้น จะสร้างมีนิสัยใหม่ให้กับเราอย่างเป็นธรรมชาติ

นิสัยแห่งความรู้สึกตัว

 

พอเรามีวินัยทำทุกวัน นิสัยใหม่จะเข้าไปในชีวิตประจำวัน มันจะรู้สึกตัวบ่อยๆได้เอง

และนั่นคือเหตุผลที่ผมพูดว่า

การปฏิบัติธรรม คือการใช้ชีวิตทั้งชีวิต ให้ถูกต้องตามครรลอง ของธรรม แล้วทุกอย่างจะค่อยๆพัฒนาไปเองอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่มีการพยายามทำอะไร

ถาม : เข้าใจแล้วครับ กระจ่างเลย ขอบคุณครับพี่

ตอบ : สาธุครับ