12.ผ่อนคลาย…สบาย…เป็นธรรมชาติ

ตอนที่ 1 เริ่มด้วยความสบาย

เวลาเราเริ่มปฎิบัติธรรม เราต้องเริ่มด้วยความสบาย

อย่าไปเริ่มว่า เอ้า…เดี๋ยวเราจะปฎิบัติธรรมแล้ว…ไม่ใช่แบบนั้น

เหมือนพี่จะนั่งขยับมือใช่มั๊ย?

ผมก็จะบอกว่า พี่นั่งสบายๆ

นั่งเก้าอี้ที่จะไปขยับมือ…นั่งสบายๆก่อน

พอนั่งสบายๆ สังเกตจิตใจซิเป็นยังงัย?

เริ่มสงบระงับรึยัง? เริ่มปกติรึยัง?

พอเห็นจิตใจ เอ้อ..เริ่มสงบระงับ สบาย ผ่อนคลาย

เริ่มปกติ เอ้อ…ไม่มีอะไร

เราก็ค่อยๆ เริ่มขยับเขยื้อนมือเราออกไป

ขยับแล้วหยุด!!

สัมผัสความรู้สึกหยุดนั้น แล้วค่อยๆเคลื่อนต่อ

สัมผัสความรู้สึกหยุดนั้น ค่อยเคลื่อนต่อๆ ไปเรื่อยๆ

พอเราเริ่มจากความสบายได้ ที่เหลือมันก็จะสบาย

แต่ถ้าเรามานั่งปุ๊ป…เอ้า…เฮ้ยเดี๋ยวจะขยับมือหลวงพ่อเทียนวันนี้…เสร็จเลย!!

อันนี้มันจะตั้งท่าปุ๊บ พอมันตั้งท่าปุ๊บ…มันจะเกร็ง

พอมันเกร็งปุ๊บ…มันจะเพ่ง เพราะมันคิดว่ามันต้องทำอะไร

มันคิดว่าเราจะขยับมือนะ อะไรแบบนี้…ไม่ใช่!! เราอย่าไปทำแบบนั้น

ตอนที่ 2 ขยับมือ เคลื่อนไหว ไกลโมหะ

เรานั่งสบายๆ ผ่อนคลาย ซักพักนึง 1นาที 2นาที

พอเริ่ม…โอเค สบายแล้ว เดี๋ยวจะลองขยับมือซะหน่อย

ขยับมือก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะปฎิบัติ เราแค่จะเคลื่อนไหว…เพื่อให้เราไม่เคลิ้มไป

เค้าเรียกว่าให้เคลื่อนไหว เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซากจำเจของอารมณ์

เพราะไม่อย่างนั้น นั่งเฉยๆ เดี๋ยวมันซึม

เราไม่ให้โมหะมาครอบจิตเรา เราก็เลยจะขยับมือ…แค่นั้น

เราไม่ได้หวังจะได้อะไรจากการขยับมือ

เราขยับมือเพื่อให้มีความตื่นตัว มีความตื่นรู้ขึ้นมา

ให้มันไม่ซึม…ให้เราคิดอย่างงั้นก็พอ

ต้องเลิกความรู้สึกว่า เราจะนั่งปฎิบัติ…ไม่เอาแบบนั้น

ตอนที่ 3 รู้สึกถึง ”อาการ” อย่างเป็นธรรมชาติ

เวลาเดินไปยืนทางหัวจงกรม ให้ยืนสบายๆ หยุดยืน หยุดลมหายใจ สบายๆ

ที่ผมบอกว่าหยุดลมหายใจ ไม่ใช่ไปกลั้นลมหายใจนะ ให้มันหายใจธรรมดานี่แหละ แต่มันจะมีช่วงนึงของปลายลมหายใจ ที่มันจะยังไม่ต้องการลมหายใจเข้า…ช่วงนั้นแหละมันจะหยุด และมันหยุดเป็นธรรมชาติ โดยที่เราไม่ได้ไปกลั้นมัน

ตรงนั้นแหละ…เราจะยิ่งสัมผัสความหยุดที่แท้จริง

ความเป็นปกติที่มันเงียบเชียบ

มันราบเรียบ มันไม่มีอะไร

มันสบาย มันนุ่มนวล มันอ่อนโยน

แต่ปกติ แต่หนักแน่น แต่ไม่มีน้ำหนัก

มัน…โอ้โห…อธิบายยาก หลายอย่าง

ต้องไปลองเอง ใช่มั๊ย?

ปลายลมหายใจแบบนั้น เรายังไม่ต้องการลมหายใจเข้า…เราก็สัมผัสมัน แล้วเดี๋ยวเราหายใจเข้า ปึ้บ แล้วเราก็โอเค เรารู้สึกว่าพอแล้วในการยืนสงบนิ่ง ยืนหยุดแบบนี้…เราพอแล้ว

เราก็เดิน…ก็เดินธรรมชาติ ไม่ใช่เดินว่าชั้นจะเดินเพื่อรู้สึกตัว…ไม่ใช่แบบนั้น

เดินธรรมชาติ มันก็รู้สึกถึง ”อาการ” เรียกว่า รู้สึกถึง ”ปรมัถต์

ก็คือ ”อาการ” ที่ไอ้ตัวนี้มันเคลื่อนอยู่ เรารู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของร่างกายเฉยๆ

เหมือนถ้าผมบอกว่าให้พี่ลองหลับตาแล้วก็ยกมือขึ้น ค่อยๆยกมือขึ้น แล้วพี่จะสัมผัสว่า อ้อ..มีอาการเคลื่อนของมือใช่มั๊ย? ที่มันเคลื่อนขึ้น แล้วพอเราเคลื่อนลง เราก็รู้สึกถึงมีอาการเคลื่อนของแขนเราอยู่ใช่มั๊ย?

เวลาเรารู้สึกตัว รู้สึกถึงอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือว่าพูดสั้นๆว่า “รู้สึกตัว” รู้สึกร่างกายนี้ มันคือรู้สึกแบบอันนี้แหละ

รู้สึกถึงอาการเคลื่อนของมันเฉยๆ ความรู้สึกแบบนั้นแหละที่เค้าเรียกว่า “ปรมัถต์”

ไม่ใช่ว่าเราไปเพ่งกาย ไม่ใช่ไปดูกาย เรารู้สึกเฉยๆถึงอาการความเคลื่อนไหวของมัน

พอเรารู้ว่ารู้สึกแบบนี้ก็พอแล้วเนี่ย เราจะไม่ตั้งเป้า เพราะมันเป็นธรรมชาติ ความรู้สึกของการเคลื่อนไหวของร่างกายนี่มันมีอยู่แล้ว ถูกมั๊ย? อื้ม…สิ่งที่ผมบอกให้รู้สึก ให้สัมผัส หรือว่าให้พูดคำว่า”เห็น”เนี่ย มันเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วทั้งนั้น เราแค่ให้ความสนใจมันหน่อย…แค่นั้นเอง

เดิมเราไม่ยอมสนใจมัน เราสนใจแต่จะหลงไปในความคิดอย่างเดียว

ตอนที่ 4 เดินฟังธรรมสบายๆ

ทีนี้พอเราเริ่มเดินใช่มะ ก็เดินสบายๆ ที่ผมบอกรู้สึกอาการเคลื่อนไหวของร่างกายไป แล้วพอถึงจุดที่หยุดก็เหมือนเดิมใช่มั๊ย? เหมือนในคลิปที่ผมพูดเรื่องหยุด..เพื่อตื่น เราก็ทำแบบนั้นแหละ

แล้วมันก็จะสบาย หยุดก็สบาย เดินก็สบาย หยุดอีกก็สบาย เดินอีกก็สบาย มีแต่สบายอย่างเดียว

เราจะไม่รู้สึกว่าเราเพ่ง เราจะไม่รู้สึกว่าเราเกร็ง เราจะมีแต่ความผ่อนคลาย เดินไปชั่วโมงนึง เอ้อ…แป๊ปเดียว ฟังคลิปYouTubeไปด้วย อันนี้ก็ฟังแบบไม่ต้องฟัง เปิดไว้ให้จิตมันเคล้าเคลียกับธรรมะ

แล้วเดี๋ยวเวลาปฎิบัติไป จิตมันมีสมาธิ มันอยู่กับความเป็นปกติอยู่ เดี๋ยวธรรมะตรงไหนที่มันmatch(จับคู่)กันพอดีกับจิต ณ ตอนนั้น มันจะฟังขึ้นมาเอง

แล้วมันจะเข้าใจลึกซึ้งเลยว่า อ๋ออออ…มันเป็นอย่างนี้…ประมาณนี้

ตอนที่ 5 เห็นทุกสิ่งตามเป็นจริง…“จริงๆ”

ที่ผมจะพูดอีกคำนึงใช่มั๊ย? “รู้ทุกสิ่งตามเป็นจริง” คือเป็นอะไรก็ได้ ดีไม่ดีก็ได้ แต่เรารู้อยู่ ว่ามันเป็นแบบนี้อยู่…แค่นั้น

เราไม่ไปให้ค่า ให้ความหมายว่า อย่างนี้ไม่ดีเราไม่เอา อย่างนี้ดีเราจะเอา…ไม่ใช่แบบนั้น

เราไม่ให้ค่า ไม่ตัดสินอะไร อะไรเกิดเราก็รู้ก็เห็น ด้วยจิตที่เป็นกลางกับมัน เราก็สบายใช่มั๊ย?

ที่ผมบอก ถ้าเราไม่ตัดสินอะไร เราสบายมั๊ย?…สบายจะตาย เพราะพอเราไปตัดสินว่ามันไม่ดี เราจะคิดหาทางแก้ใช่มั๊ย? เป็นทุกข์แล้ว

แต่ถ้าเรารับได้กับทุกสิ่งที่มันผ่านเข้ามา สบายจะตาย ใช่มั๊ย? เราก็ได้รู้ได้เห็นสิ่งต่างๆที่มันผ่านมา แล้วก็ผ่านไป ดีหรือไม่ดี ผ่านมาก็ผ่านไปเหมือนกัน เอาอะไรไว้ไม่ได้ ที่ว่าดีจะเอาไว้ก็ไม่ได้ อยากได้อีกมันก็ไม่มา อะไรอย่างนี้ ใช่มั๊ย?

เราก็จะเห็นความเป็นจริงว่า

สภาวะใดๆก็ตาม

มันผ่านมา แล้วมันก็จะผ่านไป

ควบคุมบังคับอะไรเอาไว้ไม่ได้

เราก็จะเข้าใจไตรลักษณ์อัตโนมัติเลย

เราไม่ต้องไปหาว่ามันอยู่ไหน

หรือไม่ต้องไปสงสัยว่าเราเห็นรึยัง?

ไม่ต้องเห็น ไม่ต้องหา…มันเห็นเอง!!

ถ้าเรามีความเป็นปกตินี้อยู่

เราไม่ตามความคิดไป

เรารู้สึกตัวอยู่

มันเห็นเอง!!

ไม่ต้องไปไขว่คว้าหามัน

ยิ่งไปไขว่คว้าหามัน

จะเกิดตัณหา จะเกิดความทุกข์แล้ว

แล้วสิ่งที่เห็นภายใต้ตัณหา ภายใต้ตัวตน

หรือที่ผมพูดบ่อยๆภายใต้ความมืด

สิ่งที่เห็นนั้น…ไม่มีทางเป็นของจริงได้

ถึงมันจะพูดว่านี่เห็นมั๊ยมันเปลี่ยนแปลงจริงด้วย มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตา…มันคิดเอา!!

ถึงสิ่งนั้นพูดออกมาจะเป็นสัจธรรมของไตรลักษณ์ แต่มันก็ไม่ใช่ของจริงอยู่ดี

เพราะฉะนั้น  “พื้นฐานของความเป็นปกติ พ้นออกจากโลกของความคิด” สำคัญมาก

เราจะเห็นอะไร เราจะเห็นได้จริง

สิ่งที่เห็น เป็นการเห็นภายใต้ความไม่มีตัวตน

ตอนที่ 6 เวลาผ่อนคลาย เวลาปกติ คือเวลาปฏิบัติธรรม

มันเหมือนเรากำลังขุดหาขุมทรัพย์…ระหว่างที่เรากำลังขุดหา ขุดหา ขุดหาเนี่ย

บางทีมันก็ท้อ บางทีมันก็สงสัย เอ๊ะ…มันใช่มั๊ย? มันผิดทางมั๊ย?

เพราะว่าเรายังไม่เคยเจอขุมทรัพย์นั้น เราเลยไม่แน่ใจว่าทางที่เราเดินนี้มันถูกไม่ถูก มันใช่ไม่ใช่…อะไรแบบนี้

ผมเลยบอกว่าการที่เราต้องสนทนาธรรม คุยกับครูบาอาจารย์ ฟังธรรม มันถึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก เพราะมันจะช่วยเรา ให้เราผ่อนคลายลง ให้เรารู้สึกมีกำลังใจมากขึ้น ให้เรามั่นใจว่าเรากำลังเดินไปถูกทาง

เวลาที่เราสามารถปฎิบัติธรรมได้

คือเวลาที่เราผ่อนคลายเป็นปกตินั่นแหละ

คือเวลาที่ปฎิบัติธรรมได้จริง

แต่ในเวลาที่เราถูกกิเลส ถูกอวิชชาครอบงำแล้ว

เวลานั้นปฎิบัติธรรมไม่ได้

ที่ผมบอกว่า สิ่งที่เห็นนี้มันไม่ใช่ของจริงแล้ว เพราะมันเห็นภายใต้เลนส์ของความที่มีตัวตนไปแล้ว มันจะมีทิฏฐิ มีอคติเข้าไปตัดสิน เข้าไปให้ค่า ถึงแม้ว่ามันจะดูเหมือนสัจธรรม แต่มันก็ยังไม่ใช่…ที่ว่าเห็น…เลยบอกว่าเห็นไม่จริงงัย…มันเป็นแบบนี้

เพราะว่าการปฎิบัติธรรมนี้มันละเอียดอ่อนมาก

ผมถึงพยายามเน้นมากถึงพื้นฐานที่สำคัญมากคือ

“ความเป็นปกติ” ที่ทุกคนจะต้องเห็นก่อน

แล้วสิ่งต่างๆ มันถึงจะพัฒนาไปได้

ไม่ใช่ง่าย ที่คนๆนึงที่แม้กระทั่งศรัทธาในศาสนาพุทธ อยากจะพ้นทุกข์แล้ว ตั้งใจปฎิบัติแล้วนี้ จะมีบุญพอจะเจอทางที่ถูกด้วย อันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย

การอ่านหนังสือของผู้รู้ ครูบาอาจารย์ เราอ่านรอบนึง แล้วเราก็ปฎิบัติไป แล้วมาอ่านใหม่ เราจะเข้าใจไม่เหมือนเดิมเลย ความเข้าใจมันจะลึกซึ้ง ลึกซึ้ง มากขึ้นเรื่อยๆ

เหมือนกับหลวงพ่อชาเคยอธิบาย อธิบายไว้ดีมากเลย บอกว่ามีคนมาพูดว่าศาสนาพุทธมีแค่นี้เหรอ อะไรประมาณนี้นะ หลวงพ่อชาบอกว่าพื้นดินนี้มีรูอยู่ รูลึกเมตรนึงนะ แต่มือเรายาวแค่ครึ่งเมตรสมมุติ แล้วเราก็ล้วงมือนี้ลงไปในรู เราก็ลงไปได้แค่ครึ่งเมตรแล้วเราก็บอกว่า มันไม่มีอะไร…นี่แบบนี้

อันนี้เหมือนกันความเข้าใจในธรรมะก็เหมือนกัน จิตใจมีระดับภูมิธรรมแค่นี้ เราก็เข้าใจได้แค่นี้ แต่วันนึงที่เรามีภูมิธรรมมากขึ้น ไอ้รูเดิม หรือเนื้อหาเดิม เราจะเข้าใจมันมากขึ้น ลึกซึ้งขึ้น เพราะว่ามือเรายาวขึ้นแล้ว

 

Camouflage

3 – Jan – 16

 

ถอดไฟล์เสียงจาก YouTube : https://youtu.be/aYYNooitlZQ

คลิปเสียงธรรมะทั้งหมดของคุณ Camouflage : https://goo.gl/RDZFMI

======================

5 ช่องทางการอ่านและฟังธรรม

1) Facebook : สุขกาย สุขใจ SookGuySookJai
http://www.facebook.com/sookguysookjai

2) Line : @camouflage.talk
https://line.me/R/ti/p/%40camouflage.talk

3) YouTube : สุขกาย สุขใจ SookGuySookJai
https://goo.gl/in9S5v

4) Website: https://camouflagetalk.com

5) Podcast : Camouflage – Dhamma Talk
https://itun.es/th/t6Mzdb.c