6.จงกรม…เพื่อ…รู้จักความปกติ

 

ตอนที่ 1 หยุด!

ผมแนะนำอย่างนี้ สร้างวินัยให้กับตัวเอง ตื่นเช้า ตื่นมาตี4 อันนี้ไม่มีความกังวลอะไรใดๆทั้งสิ้น ก็เริ่มเดินจงกรม เดินจงกรมซักชั่วโมงนึงตี 4 ตื่นขึ้นมานี่ เดินจงกรมซักชั่วโมงนึงก่อน เวลาเดิน ก็เดินเป็นธรรมชาติ เวลาเราเดินเป็นธรรมชาตินี้ พอไปสุดทางจงกรมให้หยุด

ในการเดินจงกรมนี้ การหยุดนี้สำคัญมาก สำคัญมากกับผู้ที่ยังมีสมาธิไม่ตั้งมั่น “พอถึงสุดทางปุ๊บ…หยุด” อันนี้หยุด และหายใจช้าๆ เข้าออกสักคู่นึง(1คู่) “หายใจเข้าออกช้าๆแล้วก็รู้สึกตัว” รู้สึกตัวทั่วพร้อมว่างั้น รู้สึกทั่วๆ อันนี้ละกันภาษา

 

ในขณะนั้นสัมผัสขณะที่หยุดนี่

ความคิดจะดับอัตโนมัติ นี่เป็นธรรมชาติของการหยุด

การหยุดจะตัดความคิดทั้งหมดอัตโนมัติ แล้วกลับมาที่ความรู้สึกตัว

และสัมผัสความรู้สึกตัวนั้น สัมผัสสภาพสภาวะที่มันปกตินั้นอยู่

สภาพสภาวะที่ตอนนั้นไม่มีความคิด สภาพสภาวะของความเงียบเชียบ

ของการพ้นจากความปรุงแต่ง ของความราบเรียบ สัมผัสสภาวะแบบนั้นไว้

 

พอเสร็จปุ๊บ หมุนกลับ … หมุนกลับนี่อย่าเพิ่งเดิน ให้ทำเหมือนเดิม คือหายใจเข้าออกสักคู่นึง(1คู่) และก็สัมผัสสภาพสภาวะที่ผมบอกเมื่อกี้นี้ไว้ แล้วก็เดิน

 

เราเดินจงกรมไม่ใช่เอารอบ เราเดินจงกรมเอาความรู้สึกตัวและก็

“สัมผัสสภาวะของความที่ไม่มีอะไร ราบเรียบ ปกติ

สภาวะแบบนั้นเป็นสภาวะที่ทุกสิ่งหยุด

สภาวะแบบนั้น ก็คือสภาวะของนิพพานชิมลอง

สภาวะของความเป็นพุทธะ

ที่ผมบอกว่าให้รู้จักมันไว้บ่อยๆ นี่แหละโอกาสที่จะรู้จักมันง่ายๆ ผ่านการทำในรูปแบบ

 

เพราะฉะนั้นเดินกลับไปกลับมา “ต้องหยุด! หยุด…หมุน และหยุดแล้วก็ค่อยเดิน” ชั่วโมงนึงเดินได้ไม่กี่รอบหรอก

 

ตอนที่ 2 อุบายการเดิน

ถ้ามันฟุ้งมากๆ หยุดตรงกลางอีกทีนึง มันมีหลายอุบายนะนี่แล้วแต่ไปปรับใช้ บางคนก็ “หยุดตรงกลางอีกทีนึง” หายใจเข้าออกสักคู่นึง(1คู่) สัมผัสความรู้สึกที่ผมบอก

 

หรือไม่ก็ ถ้าไม่ชอบหยุดตรงกลาง เพราะว่าทาง(จงกรม)มันสั้นเดี๋ยวหยุดบ่อยเกินไป รู้สึกอึดอัดก็เปลี่ยนเป็นไป “รู้สึกเท้ากระทบพื้นแทน ไม่ใช่เพ่งนะ” คล้ายๆ…ระลึกไว้ว่าเราจะรู้สึกเท้ากระทบเดี๋ยวมันกระทบ เราก็รู้ว่ามันกระทบ รู้ว่ามันกระทบแค่นั้นเอง แต่เราก็ยังรู้สึกทั้งเนื้อทั้งตัวอยู่เหมือนเดิม

 

คล้ายๆว่าการกระทบปึ้งๆๆๆนี้ มันก็จะช่วย ในการที่ว่า…ความคิดมันเป็นเหมือน Dynamic ความคิดเป็นสิ่งที่ วูบวาบ วูบวาบ วูบวาบ ไหวไปไหวมา แต่ไอ้การกระทบพื้นนี่ มันปุ้งๆๆ อันนี้มันเป็นสิ่งที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Static มันแน่นหนา มันเป็น “ปุ้ง มันเหมือนมันหยุดนะ” หยุดแป๊บนึงมันจะคล้ายๆเป็นสิ่งที่เป็นอาการที่ไม่เหมือนกัน มันจะช่วยให้กลับมาเร็ว อธิบายยากว่าอันไหนที่มันเหมาะกับตัวเองที่จะรู้ทันความคิดเร็วขึ้น ที่จะไม่ตามความคิดไปง่ายๆ อันนี้เป็นอุบายของส่วนตัวต้องปรับเอาเอง

 

ตอนที่ 3 อยู่กับรู้

พอชั่วโมงนึงเสร็จปึ๊บ เราก็ไปทำกิจวัตรใช่มั้ย ระหว่างทำกิจวัตรนี่ ไม่ใช่ว่า “เอ้ออ…เลิกแล้วไม่ต้องเดินจงกรมแล้ว เลิกปฎิบัติไม่ใช่แบบนั้น” อันนี้เราก็ระลึกเอาไว้ คล้ายๆเราระลึกไว้ในจิตเราว่า“เออ…เราต้องอยู่กับรู้นะ”

 

แปรงฟัน…ก็เวลาแปรงคนส่วนใหญ่นี่ชอบไปคิด หลงไปเลย เออ…ทำไรต่อดีว้า…นี่ให้ระลึกเอ๊ย!!! อยู่กับรู้ อันนี้ก็โอเค อยู่กับการแปรงฟัน นี่เรียกว่าอยู่กับรู้ อยู่กับการเคลื่อนไหว ไม่ได้คิดอะไร อาบน้ำเหมือนกันพวกนี้ ก็อยู่กับรู้เอาไว้ และพอกินข้าวเช้าอะไรเสร็จ ช่วงเวลาก่อนจะถึงกลางวันนี้ ถ้าสมมุติมีเวลา ก็อีกซักชั่วโมงนึงก็ได้ เดินอีก ก่อนนอนเอาอีกซักรอบชั่วโมงนึง

 

อย่างที่ผมบอก…การปฎิบัติในรูปแบบจะทำให้เราได้ “สัมผัสความเป็นปกติได้บ่อยๆจิตจะคุ้นชิน” มันจะช่วยส่งเสริมให้เราเร็วขึ้น “จนถึงวันนึงทุกอย่างอยู่ตัวแล้ว ทุกอย่างเป็นเองแล้ว” ออโต้แล้ว เราก็ไม่ต้องทำก็ได้ ทำถึงวันที่เราจะรู้เองว่าเราไม่ต้องทำ เราจะรู้เอง ไม่ต้องให้ใครบอก

 

แหวกเมฆหมอก ทำให้รู้จักความเป็นปกติบ่อยเข้า บ่อยเข้า บ่อยเข้า เรากำลังจะสร้างฐานของสัมมาสติ เรากำลังจะสร้างฐานของสัมมาสมาธิ ให้เกิดขึ้นในจิตในใจดวงนี้

 

Camouflage

24 – Sep – 15

 

ถอดไฟล์เสียงจาก YouTube : https://youtu.be/7XMUSfOAyWA

คลิปเสียงธรรมะทั้งหมดของคุณ Camouflage : https://goo.gl/RDZFMI

======================

5 ช่องทางการอ่านและฟังธรรม

1) Facebook : สุขกาย สุขใจ SookGuySookJai
http://www.facebook.com/sookguysookjai

2) Line : @camouflage.talk
https://line.me/R/ti/p/%40camouflage.talk

3) YouTube : สุขกาย สุขใจ SookGuySookJai
https://goo.gl/in9S5v

4) Website: https://camouflagetalk.com

5)Podcast : Camouflage – Dhamma Talk
https://itun.es/th/t6Mzdb.c